ยินดีต้อนรับสู่ weblog เพื่อการเรียนรู้ ผู้เข้าชมบล็อกสามารถดูรายละเอียดการนำเสนอมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แจ้งนักเรียนชั้น ม. ๕

ขอเลื่อนกำหนดการส่งรายงานเย็บมุม งานที่ ๓ : comparative  as ..... as , comparative so ...... that,  Pronouns : -body, -one, -thing และ Adverb : -where  เป็น ๒๓ มกราคม ๒๕๕๕ (ทุกห้องส่งพร้อมกัน)

แจ้ง นศท.ชั้นปีที่ ๓

กำหนดการฝึกภาคสนาม
       ๑. ชั้นปีที่ ๓ ชาย  ฝึกผลัดที่ ๒  ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๔ มกราคม ๒๕๕๕
       ๒. ชั้นปีที่ ๓ หญิง  ฝึกรวมทั้งหมด ระหว่างวัที่ ๖-๘ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๕
** รายละเอียดเพิ่มเติมใน Military / Army

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แจ้งนักเรียนชั้น ม. ๖/๔ และ ๖/๖

ขอยกเลิกนัดหมายการสอบกลางภาคแล้วจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง โดยจะเรียกหัวหน้าห้องมาพบเพื่อแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของการอ่านหนังสือ

                การอ่านหนังสือ (ที่ดี) มีประโยชน์อย่างน้อย    ประการ  ดังนี้
                ๑.  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูก  ถ้าพ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกฟังจนเป็นนิสัยและสร้างความสุขอันล้นเหลือให้ลูก เด็กร้อยทั้งร้อยชอบฟังนิทาน
                ๒.  สร้างพลังจินตนาการ  ผู้ที่อ่านมากจะมีพลังของจินตนาการมาก  พลังจินตนาการนำไปสู่ความจริง ความดี และความงาม
                ๓.  สร้างพลังความรู้  ใครอ่านมากมีความรู้มาก  ชาติที่ขาดพลังความรู้พัฒนาไปไม่ได้
                ๔.  สร้างพลังทางปัญญา  การอ่านมากทำให้สร้างโครงสร้างทางสมองที่ทำให้รู้และคิดเชื่อมโยงทำให้เข้าใจเรื่องยากๆได้  เรื่องยากไต้องอ่านจึงจะเข้าใจ  ฟังอย่างเดียวไม่เข้าใจ  ถ้าไม่เข้าใจเรื่องยากก็ไม่เข้าใจสังคมปัจจุบันซึ่งซับซ้อน  ถ้าขาดพลังทางปัญญาสังคมก็วิกฤต
                ๕.  สร้างพลังทางจริยธรรม  เพราะจริยธรรมเกิดจากปัญญาที่เข้าใจความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงในความซับซ้อน
                ๖.  สร้างความสุข  การอ่านทำให้เกิดความสุขอย่างล้นเหลือ  เมื่อมีความสุขจากการอ่านก็ไม่ไปทำสิ่งที่ฟุ่มเฟือยไม่ดีอื่นๆ
                ๗.  สร้างบุคลิกภาพ  คนอ่านน้อย  รู้น้อยย่อมเอะอะโวยวายก้าวร้าว  คนอ่านมาก  มีปัญญามาก  มีความสุขมาก  ย่อมสุขุมคัมภีรภาพ  ชาติที่อ่านน้อยกับชาติที่อ่านมากจึงมีบุคลิกภาพต่างกัน  เพราะการอ่านกำหนดเป็นบุคลิกภาพของชาติ
***ที่มา : วารสารบ้านอารีย์ ฉบับที่ ๗๗, ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔, หน้า ๑๐-๑๑.

สวัสดีการอ่าน

                เซอร์ฟรานซิส  เบคอน  นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษเคยให้มุมมองเกี่ยวกับการอ่านว่า มนุษย์ในยุคปัจจุบันไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมบูรณ์แบบ  หากปราศจากการอ่าน  การอ่านเป็นหนึ่งในสี่ด้านทักษะทางภาษาที่สำคัญและสามารถฝึกฝนได้เรื่องยๆ ตามวัยและประสบการณ์ไม่มีสิ้นสุดและเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์ได้รับความบันเทิง ความรู้ ความคิด ซึ่งมีผลต่อชีวิตและจิตใจของมนุษย์ให้เจริญยิ่งขึ้นได้

จันทรุปราคา 10 ธันวาคม 2554

ศึกษาดูงานโครงการหุบกะพงตามพระราชประสงค์

กิจกรรมการเรียนการสอน

แจ้งนักเรียนชั้น ม.๕

นักเรียนสามารถศึกษาข้อมูลและทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมที่ครูมอบหมายได้ในห้องเรียนของ Study Room นะคะ
ขอให้ทุกคนพยายามศึกษาเรียนรู้และทำงานตามที่มอบหมายให้สำเร็จทุกคน อย่าลืมส่งตามกำหนดเวลาด้วยนะคะ
- must, have to / reflexive pronouns ส่งวันที่ ๑๕ ธ.ค. ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. (๕/๗ ส่ง ๒๐ ธ.ค.)
- report speech / reported questions ส่งวันที่ ๒๒ ธ.ค. ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. (๕/๗ ส่ง ๒๗ ธ.ค.)
- comparative as.....as / comparative so.....that / pronouns : -body, 
-one, -thing / adverbs : where ส่งวันที่ ๒๙ ธ.ค. ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น.    (๕/๗ ส่ง ๓ ม.ค.)
** งานที่นำส่งให้อยู่ในรูปของรายงานแบบเย็บมุมธรรมดา